หลายคนอาจเคยได้ยินหรือรู้จัก “ระบบการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม หรือ Co-generation” (CHP - Combined Heat and Power) จากโรงผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากระบบดังกล่าวจะทำให้ผู้ผลิตได้รับพลังงานความร้อนเป็นผลพลอยได้ โดยความร้อนที่ได้นั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไอน้ำ หรือแม้กระทั่งแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังงานความเย็น โรงผลิตไฟฟ้าที่ใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานร่วมสามารถจ่ายไฟฟ้าไปยังสถานประกอบการต่างๆได้อย่างทั่วถึง แต่ไม่สามารถนำพลังงานความร้อนที่ได้มาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เนื่องจากพลังงานความร้อนและความเย็นเป็นสิ่งที่ยากต่อการขนส่งในระยะทางที่ไกล
ปัจจุบัน การค้นพบและพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานทางเลือกเป็นไปอย่างแพร่หลาย โดยถูกแบ่งออกเป็นหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น กังหันลม เซลล์แสงอาทิตย์ หรือแม้แต่แก๊สชีวภาพซึ่งประสิทธิภาพของระบบเหล่านั้นยังต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากธรรมชาติ คือ ลม, แสงอาทิตย์ และอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่สามารถควบคุมได้และมีความไม่แน่นอนสูง ทางเลือกถัดไปคือเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานร่วมที่สามารถควบคุมได้และมีความแน่นอนของระบบสูง หากผู้ผลิตสามารถนำความร้อนที่ได้จากกระบวนการผลิตไปใช้ประโยชน์ ณ สถานที่ผลิตได้ ก็จะทำให้ได้รับประโยชน์สูงที่สุดจากระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานร่วมระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดย่อม ณ ปัจจุบัน มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพโดยประมาณของทั้งสองจะอยู่ที่ 40% ( สำหรับการใช้ LNG หรือ LPG เป็นพลังงานตั้งต้น ) หมายความว่า ระบบจะเปลี่ยนแปลงพลังงานตั้งต้นให้กลายเป็นไฟฟ้าที่อัตรา 40% โดยอีก 60% ที่เหลือจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานความร้อน และเทคโนโลยีล่าสุดสำหรับการนำพลังงานความร้อนไปใช้ประโยชน์มีความสามารถอยู่ที่ 50% ซึ่งจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพโดยรวมถึง 90% และมีพลังงานความร้อนเพียง 10% ที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ขนาดของเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานร่วมจะถูกอ้างอิงจากความสามารถในการผลิตไฟฟ้า เช่น เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานร่วมขนาด(CHP) 1 เมกกะวัตต์ จะสามารถผลิตไฟฟ้า 1 เมกกะวัตต์ และ พลังงานความร้อน1.25 เมกกะวัตต์ โดยพลังงานความร้อนที่ได้รับสามารถเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานได้ การเปลี่ยนรูปแบบพลังงานสามารถเปลี่ยนแปลงได้สองลักษณะ คือ ไอน้ำความดันสูงสุด 20 บาร์ หรือ น้ำร้อนอุณภูมิสูงสุด 97 องศา
อ้างอิงจากราคา LNG ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 1.2 บาท/KWh จะทำให้ระบบสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในราคา 3 บาท/KWh ซึ่งถูกกว่าค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า 10-15% เป็นขั้นต่ำ นอกจากการประหยัดค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากการผลิตไฟฟ้าในส่วนนี้แล้ว ผู้ผลิตยังได้รับพลังงานความร้อนที่เป็นผลพลอยได้อีก 1.25 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตความร้อนอีกด้วย ในกรณีผู้ผลิตไม่สามารถหรือไม่ต้องการนำพลังงานความร้อนนี้ไปใช้ได้ ท่านสามารถเลือกที่จะพัฒนาให้กลายเป็นระบบการผลิตไฟฟ้าและความร้อน-ความเย็นร่วม หรือ Tri-generationได้ โดยติดตั้งระบบทำความเย็นแบบดูดซับพลังงาน หรือ Absorption Chiller ซึ่งAbsorption Chiller มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนเป็นความเย็นได้ถึง 70% โดยจะเทียบเท่ากับ เครื่องทำความเย็นขนาด 875 กิโลวัตต์ หรือ เครื่องทำความเย็นขนาด 2 กิโลวัตต์ 437 เครื่อง
โดยทั่วไปแล้วค่าเฉลี่ยขั้นต่ำของการประหยัดพลังงานจะอยู่ที่ 20% จากการใช้พลังงานทั้งหมด
บริษัทส่วนใหญ่มิได้ ตระหนักถึงโอกาสที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาลในส่วนนี้ และยิ่งกว่านั้น ยังทำให้บริษัทมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าด้วยตนเองอีกด้วย
ดอร์ช คอนซัลท์ เอเซีย ร่วมกับ เอ็นอาร์จี เซฟเวอร์ เพื่อให้คำปรึกษาและพัฒนาโปรเจค CHP ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เรายินดีที่จะช่วยท่านสำหรับการคำนวณอัตราการประหยัดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาคืนทุนเบื้องต้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และเมื่อท่านตัดสินใจร่วมงานกับเรา ทางบริษัท ดอร์ช คอนซัลท์ เอเซีย จะทำการออกแบบและพัฒนาระบบ และค้นคว้ารูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับการติดตั้งร่วมกับผู้จัดจำหน่ายเครื่อง CHP เพื่อมอบระบบที่ดีที่สุดให้แก่ท่าน โดยระยะเวลาดำเนินงานเฉลี่ยจะอยู่ที่ 4-6 เดือน ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ท่านจะได้รับ 3 ข้อเสนอจากผู้จัดจำหน่ายที่แตกต่างกัน
สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เราเสนอแผนดูแลและพัฒนาด้านพลังงานอีกทางเลือกหนึ่งเรียกว่า “เอ็นอาร์จี-ไซเคิล” ซึ่งเป็นการผสมผสานความเหมาะสมสถานการณ์ของการพัฒนาแผนการใช้และประหยัดพลังงานเพื่ออนาคตกับสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กร
หมายเหตุ: โครงสร้างนี้เป็นเพียงแค่การเสนอแนวทางแก้ไขเท่านั้นยังมิได้มีด้าเนินโครงการจริงแต่อย่างใด